วันพุธที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2562

เทคโนโลยีการศึกษากับครูไทยในศตวรรษที่21


🍄เทคโนโลยีการศึกษากับครูไทยในศตวรรษที่21🍄

 ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เทคโนโลยีการศึกษากับครูไทยในศตวรรษที่ 21









  ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เทคโนโลยีกับครในศตวรรษที่21รูปภาพที่เกี่ยวข้อง


ลกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา สังคมโลกกลายเป็นสังคมการเรียนรู้ องค์กรทางการศึกษาจึงต้องปรับตัวให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยตระหนักว่าคุณภาพการศึกษาขึ้นอยู่กับคุณภาพครูเป็นหลัก จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม มีนโยบายแนวทางที่มีคนเป็นศูนย์กลาง เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งภายในและภายนอก นอกจากนี้ยังมีนโยบายส่งเสริมการศึกษาให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน และสร้างสังคมที่มีคุณภาพอันก่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต ดังนั้นครูและบุคลากรทางการศึกษาจึงเป็นบุคคลที่มีความสำคัญทางตรงและทางอ้อมที่จะถ่ายทอดความรู้ รวมทั้งพัฒนาศิษย์ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ ทั้ง 4 ด้าน คือ 1.ด้านความรู้ความคิด 2.ด้านความรู้สึก อารมณ์ 3.ด้านทักษะปฏิบัติหรือทักษะพิสัย 4.ทักษะการจัดการหรือทักษะกระบวนการ แนวโน้มการศึกษานานาชาติมุ่งเน้นทักษะความสามารถ ทักษะพื้นฐานในการดำรงชีวิต การอ่าน การเขียน การคำนวณ ซึ่งเป็นทักษะที่องค์กรให้ความสำคัญ วงการศึกษาไทยมองว่าครูคือกุญแจสำคัญในการแก้ปัญหาการศึกษา แต่ปัจจุบันครูต้องเจอกับคำถามหลายด้านทั้ง คุณภาพที่มาเรียนวิชาชีพครู สถาบันที่ไม่ได้ผลิตครูโดยเฉพาะ การพัฒนาครูที่ไม่สอดคล้องกับปัจจุบัน เช่น ลักษณะบุคคลในอนาคตที่ประเทศต้องการเป็นอย่างไร ครูต้องจัดการเรียนการสอนอย่างไร ดังนั้นจึงต้องมีการจัดการเรียนรู้โดยมุ่งเน้นการให้ครูสามารถออกแบบการเรียนรู้เพื่อไปพัฒนาผู้เรียนได้ นอกจากนี้  ความตระหนักความมุ่งมั่นให้นักเรียนมีทักษะ และการเรียนรู้ โดยปรับเปลี่ยนวิธีการสอนให้เกิดการสร้างองค์ความรู้จากข้างใน และส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้และทักษะที่ไม่แพ้กัน เพราะถ้าครูขาดการพัฒนาก็จะช่วยนักเรียนได้ไม่เต็มที่ 

ดังนั้นการพัฒนาครูในประเทศไทยจะต้องมุ่งเน้นการพัฒนาครูเป็นสำคัญเพื่อให้ครูในยุคใหม่ที่ความรู้ความสามารถไปสอนให้แก่นักเรียนในอนาคตต่อไป สภาพปัจจุบันด้านเทคโนโลยีและการศึกษา ในยุคศตวรรษที่ 21 กระบวนการเรียนการสอนที่มีการเปลี่ยนแปลง เพราะนักเรียนใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และสามารถเข้าถึงได้ง่าย นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องจำนวนนักเรียนที่เยอะขึ้นจนทำให้ประสิทธิภาพในการสอนลดลง สื่อที่แสดงมีขนาดใหญ่ไม่เพียงพอต่อเด็กหลังห้อง และนักเรียนมีการนำคอมพิวเตอร์มาเรียนในห้องเรียนจึงทำให้สื่อการสอนมีความสำคัญน้อยลง และนักเรียนจะซักถามในขณะที่ครูกำลังสอน จึงทำให้ครูต้องปรับตัวและทันต่อเทคโนโลยีอยู่ตลอดเวลา รู้จักนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสอน เช่น การสืบค้นเนื้อหาในการสอน การพัฒนาสื่อการสอนเป็นต้น ปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการมีแนวทางการพัฒนาระบบ ICT ดังนี้ 1.การจัดหาระบบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เพื่อการเรียนการสอนของสถานศึกษา 2.การพัฒนาโครงข่ายโทรคมนาคมเพื่อการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3.การพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบสื่อออนไลน์ผ่านเว็บไซด์ E-book หรือ Application ต่างๆ ครูไทยในอนาคต 

 ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เทคโนโลยีกับครในศตวรรษที่21ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เทคโนโลยีกับครในศตวรรษที่21










  ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ครูสอนหนังสือ










  
เมื่อสังคมโลกเปลี่ยนไป ไม่ได้เรียนเพียงแค่ในห้องอย่างเดียว แต่ยังหาความรู้จากภายนอกอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากอินเทอร์เน็ต การเรียนรู้ของนักเรียนแต่ละคนมีความต่างกันเพราะนักเรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาของแต่ละบุคคลได้ อยู่ที่ว่าใครจะมีความกระตือรือร้นในการค้นหามากกว่ากัน เพราะเช่นนี้ครูจึงต้องศึกษาความรู้เดิมของนักเรียนและแก้ไขไม่สอนในสิ่งที่ไม่ดีให้ติดตัวเขาไป ซึ่งการศึกษาความรู้เดิมเป็นแนวทางของการจัดการเรียนการสอน ซึ่งไม่ว่ายุคสมัยใดการออกแบบการสอนจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ครูต้องปฏิบัติ เพียงแต่ต้องปรับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไปตามสมัย การออกแบบการสอนในศตวรรษที่ 21 ต้องออกแบบให้นักเรียนได้เป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตัวเองมากกว่าการรับความรู้จากครู โดยออกแบบให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยตัวเอง วิเคราะห์ด้วยตัวเอง ตรวจสอบและสรุปได้ด้วยตัวเอง และหากต้องการให้นักเรียนจดจำความรู้ได้ดีควรจัดรูปแบบการสอนให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง ด้วยการสร้างสรรค์ชิ้นงานและเผยแพร่ความรู้และนวัตกรรมที่สู่สาธารณชน โดยอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการสอนและปฏิบัติกิจกรรม ในการเรียนในยุคสมัยใหม่ คือ ครูเป็นผู้เรียนรู้ไปด้วย และเรียนกับครูท่านอื่นๆเพื่อร่วมกันวางแผนการสอน พูดคุย ปรึกษาแลกเปลี่ยนความรู้กัน ทักษะที่จำเป็นสำหรับครูไทย แบ่งได้ 8 ประการ คือ1.content ครูต้องมีความรู้ในเรื่องที่สอนเนอย่างดี หากไม่รู้เนื้อหาก็ยากที่นักเรียนจะเข้าใจ 2.computer integration ครูต้องมีทักษะการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการจัดรูปแบบการสอน 3.Constructionist ครูต้องเข้าใจแนวคิดของนักเรียนที่สามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตัวเองโดยเชื่อมความรู้เดิมกับการลงมือทำ 4.connectivity ครูต้องสามารถเชื่อมโยงกิจกรรมให้เชื่อมโยงระหว่างผู้เรียนเข้าด้วยกัน




วันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2562


             🍩สรุป เรื่องเทคโนโลยีกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต 🍩                        

   ปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตของคนเราเป็นอย่างมากและมี การเผยแพร่ความรู้ทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วเราจึงจำเป็นต้องเรียนรู้เทคโนโลยีไปตลอดชีวิตเพื่อเตรียมรับมือกับการ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาการเรียนรู้แบบเดิมของครูคือใช้หนังสือหรือตำรา งานวิจัยในการหาข้อมูล ซึ่งอาจจะได้ข้อมูลที่จำกัดไม่เหมือนกับปัจจุบันที่สามารถหาข้อมูลได้อย่างหลากหลายและยังสะดวก รวดเร็วอีกด้วย หน่วยงานของรัฐเห็นความสำคัญในด้านนี้จึงจัดอบรมให้กับครูจนทำให้ครูไม่มีเวลาสอนเด็กและส่งผลกระทบต่อผลคะแนนO-Net แต่การจัดอบรมก็ไม่เป็นไปตามความเต็มใจของครู ดังนั้นการพัฒนาทักษะของครูจะช่วยให้ครูเข้าถึงแหล่งความรู้ได้ตามความต้อการของครูเองและยังสามารถเข้าใจวิธีการสอนนักเรียนมีเวลาในการจัดตารางสอนเพิ่มขึ้นส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาจึงให้ลดการอบรมเพื่อแก้ปัญหาในด้านนี้การเรียนรู้ตลอดชีวิตคือวิธีการค้นหาความรู้ด้วยตัวเองจากแหล่งข้อมูลต่างๆไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ในระบบ การเรียนรู้นอกระบบ อาจเรียนรู้ด้วยตนเอง หรือเรียนรู้กับผู้อื่น เพื่อให้เกิดทักษะ ความรู้ ประสบการณ์ การประกอบอาชีพและสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมอย่างกะทันหันได้ทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นปัจจัยสำคัญในยุคศตวรรษที่21มากเพราะมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วความรู้ที่เรามีอาจจะใช้ไม่ได้กับโลกอนาคตอาจจะมีอาชีพใหม่ๆเกิดขึ้นมากมายครูจึงต้องรู้ขอบข่ายให้ได้มากกว่าสังคมต้องหล่อหลอมมาจากสถาบันครูและส่งต่อมายังอาชีพครู

  ทักษะการเรียนรู้จึงจำเป็นที่ปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนเพื่อสร้างวัฒนธรรมใหม่ๆในการเรียนรู้ ประกอบด้วย4องค์ประกอบคือ  1)การที่ครูและผู้เรียนได้ร่วมกันกำหนดการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนความรู้กัน เพื่อทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการหาสาระความรู้ร่วมกัน   2)การพัฒนาครู ควรลดการจัดอบรมแล้วให้ครูได้ปฏิบัติจริงโดยมีผู้รู้คอยให้คำแนะนำและสอนเกี่ยวกับเทคโนโลยีต่างๆตลอดจนเข้าแหล่งเรียนรู้ใหม่ๆ3)การสร้างแรงบันดาลใจให้ครูได้มั่นใจในการใช้เทคโนโลยี ได้แสวงหาองค์ความรู้ใหม่ๆมีความสุขกับการหาคำตอบที่ถูกต้องและสนุกกับการหาข้อมูลทางสารสนเทศ4)สร้างชุมชนเครือข่ายกลุ่มเพื่อนที่มีความชอบคล้ายกันเพื่อที่จะได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นความรู้ทางเทคโนโลยีที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวันแหล่งทรัพยากรเพื่อการศึกษาออนไลน์มีมากมายคือแหล่งทรัพยากรการศึกษาแบบเปิดและสื่อสังคมออนไลน์ที่นำมาใช้เพื่อการศึกษาตลอดชีวิตมีเครื่องมือดังนี้1)แหล่งทรัพยากรการศึกษาแบบเปิดคือวัสดุดิจิทัลที่อิสระและเปิดเผยเพื่อนักศึกษาและผู้เรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อนำมาใช้เพื่อกาศึกษา2)สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตคือการสื่อสารที่ง่ายที่สุดการใช้สื่อของครูต้องตระหนักถึงความถูกต้องและเหมาะสมเห็นความสำคัญของการเรียนเพื่อการปรับพฤติกรรมในเข้ากับสังคมปัจจุบัน นอกจากนี้ครูควรเป็นผู้สร้างสื่อและแบ่งปันให้เด็กได้ศึกษาต่อตามความต้องการและตามวัตถุประสงค์ 

    การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตแบ่งได้ 2 ขั้นดังนี้ 1)การเรียนรู้ด้วยการนำตัวเอง คือการที่คิดริเริ่มด้วยตนเอง ไม่ได้รับการช่วยเหลือ การวิเคราะห์หรือกำหนดเป้าหมายแหล่งข้อมูลต่างๆด้วยตัวเอง คำถามสำคัญในการเรียนรู้คือ ครูต้องการเรียนรู้อะไร? ครูต้องการเรียนรู้อย่างไร?กระบวนการเรียนรู้ของครูเกิดจากแรงกดดันภายในนำมาสู่ประเด็นการเรียนรู้หรือกำหนดแหล่งข้อมูลว่ามาจากที่ใดบ้างโดยที่ครูจะต้องมีพื้นฐานในการใช้สารสนเทศเช่นคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือซึ่งการเข้าถึงข้อมูลต้องใช้ทักษะสารสนเทศในการหาข้อมูลการเลือกข้อมูล เปรียบเทียบข้อมูล ประเมินข้อมูล สังเคราะห์ขอมูลจนได้ข้อมูลที่ถูกต้องและมีความหมายเพื่อนำไปใช้ในการเรียนการสอ2)การใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล PLC เป็นรูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตของครู ซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบทีม ที่ต้องอาศัยความร่วมมือของคนในกลุ่ม PLCนี้จึงสำคัญสามารถนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการเรียน การเข้าถึงข้อมูลและการแบ่งปันข้อมูลได้ 

     การพัฒนาครูสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยเทคโนโลยี แบ่งได้2 ขั้นคือ1)การพัฒนาครูสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยเทคโนโลยีสำหรับครูรุ่นเก่าพัฒนาครูประจำการซึ่งเป็นครูที่อยู่มานานแล้วด้วยความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการศึกษาแต่ครูไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากจึงจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงตนเองของครูประจำการที่มีประสบการณ์ดังนี้ ลักษณะที่1เกิดการใฝ่รู้ตระหนักรู้ภายในตนเองของครูลักษณะที่2เกิดจากกระบวนการผลักดันการวางเงื่อนไขทางสังคมเปิดใจยอมรับและเรียนรู้2)การพัฒนาครูสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยเทคโนโลยีสำหรับครูรุ่นใหม่เป็นรุ่นที่มีความเข้าใจพร้อมในทัศนคติและการเรียนรู้ใหม่นำเสนอแนวทางการประยุกต์ได้อย่างสร้างสรรค์นำเสนอแนวทางเพื่อการแก้ไขปัญหาตามวัตถุประสงค์ของการเรียนผลการพัฒนาครูให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิตเมื่อครูสามารถหาความรู้ได้ด้วยตนเองแล้วผลที่ตามมาคือปรับเปลี่ยนกระบวนการทัศน์และวิธการสอนการส่งต่อทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้ผู้อื่น ดังที่อเมริกาได้กล่าวว่าผู้เรียนทุกคนจะต้องมีทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ประสบความสำเร็จในอาชีพการงานในอนาคต ดังนั้นจึงต้องพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตหรือพลเมืองในยุคศตวรรษที่21


เทคโนโลยีการศึกษากับครูไทยในศตวรรษที่21

🍄เทคโนโลยีการศึกษากับครูไทยในศตวรรษที่21🍄     โ ลกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา สังคมโลกกลายเป็นสังคมการเรียนรู้ อ...