วันพุธที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2562

เทคโนโลยีการศึกษากับครูไทยในศตวรรษที่21


🍄เทคโนโลยีการศึกษากับครูไทยในศตวรรษที่21🍄

 ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เทคโนโลยีการศึกษากับครูไทยในศตวรรษที่ 21









  ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เทคโนโลยีกับครในศตวรรษที่21รูปภาพที่เกี่ยวข้อง


ลกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา สังคมโลกกลายเป็นสังคมการเรียนรู้ องค์กรทางการศึกษาจึงต้องปรับตัวให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยตระหนักว่าคุณภาพการศึกษาขึ้นอยู่กับคุณภาพครูเป็นหลัก จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม มีนโยบายแนวทางที่มีคนเป็นศูนย์กลาง เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งภายในและภายนอก นอกจากนี้ยังมีนโยบายส่งเสริมการศึกษาให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน และสร้างสังคมที่มีคุณภาพอันก่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต ดังนั้นครูและบุคลากรทางการศึกษาจึงเป็นบุคคลที่มีความสำคัญทางตรงและทางอ้อมที่จะถ่ายทอดความรู้ รวมทั้งพัฒนาศิษย์ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ ทั้ง 4 ด้าน คือ 1.ด้านความรู้ความคิด 2.ด้านความรู้สึก อารมณ์ 3.ด้านทักษะปฏิบัติหรือทักษะพิสัย 4.ทักษะการจัดการหรือทักษะกระบวนการ แนวโน้มการศึกษานานาชาติมุ่งเน้นทักษะความสามารถ ทักษะพื้นฐานในการดำรงชีวิต การอ่าน การเขียน การคำนวณ ซึ่งเป็นทักษะที่องค์กรให้ความสำคัญ วงการศึกษาไทยมองว่าครูคือกุญแจสำคัญในการแก้ปัญหาการศึกษา แต่ปัจจุบันครูต้องเจอกับคำถามหลายด้านทั้ง คุณภาพที่มาเรียนวิชาชีพครู สถาบันที่ไม่ได้ผลิตครูโดยเฉพาะ การพัฒนาครูที่ไม่สอดคล้องกับปัจจุบัน เช่น ลักษณะบุคคลในอนาคตที่ประเทศต้องการเป็นอย่างไร ครูต้องจัดการเรียนการสอนอย่างไร ดังนั้นจึงต้องมีการจัดการเรียนรู้โดยมุ่งเน้นการให้ครูสามารถออกแบบการเรียนรู้เพื่อไปพัฒนาผู้เรียนได้ นอกจากนี้  ความตระหนักความมุ่งมั่นให้นักเรียนมีทักษะ และการเรียนรู้ โดยปรับเปลี่ยนวิธีการสอนให้เกิดการสร้างองค์ความรู้จากข้างใน และส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้และทักษะที่ไม่แพ้กัน เพราะถ้าครูขาดการพัฒนาก็จะช่วยนักเรียนได้ไม่เต็มที่ 

ดังนั้นการพัฒนาครูในประเทศไทยจะต้องมุ่งเน้นการพัฒนาครูเป็นสำคัญเพื่อให้ครูในยุคใหม่ที่ความรู้ความสามารถไปสอนให้แก่นักเรียนในอนาคตต่อไป สภาพปัจจุบันด้านเทคโนโลยีและการศึกษา ในยุคศตวรรษที่ 21 กระบวนการเรียนการสอนที่มีการเปลี่ยนแปลง เพราะนักเรียนใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และสามารถเข้าถึงได้ง่าย นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องจำนวนนักเรียนที่เยอะขึ้นจนทำให้ประสิทธิภาพในการสอนลดลง สื่อที่แสดงมีขนาดใหญ่ไม่เพียงพอต่อเด็กหลังห้อง และนักเรียนมีการนำคอมพิวเตอร์มาเรียนในห้องเรียนจึงทำให้สื่อการสอนมีความสำคัญน้อยลง และนักเรียนจะซักถามในขณะที่ครูกำลังสอน จึงทำให้ครูต้องปรับตัวและทันต่อเทคโนโลยีอยู่ตลอดเวลา รู้จักนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสอน เช่น การสืบค้นเนื้อหาในการสอน การพัฒนาสื่อการสอนเป็นต้น ปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการมีแนวทางการพัฒนาระบบ ICT ดังนี้ 1.การจัดหาระบบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เพื่อการเรียนการสอนของสถานศึกษา 2.การพัฒนาโครงข่ายโทรคมนาคมเพื่อการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3.การพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบสื่อออนไลน์ผ่านเว็บไซด์ E-book หรือ Application ต่างๆ ครูไทยในอนาคต 

 ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เทคโนโลยีกับครในศตวรรษที่21ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เทคโนโลยีกับครในศตวรรษที่21










  ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ครูสอนหนังสือ










  
เมื่อสังคมโลกเปลี่ยนไป ไม่ได้เรียนเพียงแค่ในห้องอย่างเดียว แต่ยังหาความรู้จากภายนอกอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากอินเทอร์เน็ต การเรียนรู้ของนักเรียนแต่ละคนมีความต่างกันเพราะนักเรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาของแต่ละบุคคลได้ อยู่ที่ว่าใครจะมีความกระตือรือร้นในการค้นหามากกว่ากัน เพราะเช่นนี้ครูจึงต้องศึกษาความรู้เดิมของนักเรียนและแก้ไขไม่สอนในสิ่งที่ไม่ดีให้ติดตัวเขาไป ซึ่งการศึกษาความรู้เดิมเป็นแนวทางของการจัดการเรียนการสอน ซึ่งไม่ว่ายุคสมัยใดการออกแบบการสอนจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ครูต้องปฏิบัติ เพียงแต่ต้องปรับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไปตามสมัย การออกแบบการสอนในศตวรรษที่ 21 ต้องออกแบบให้นักเรียนได้เป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตัวเองมากกว่าการรับความรู้จากครู โดยออกแบบให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยตัวเอง วิเคราะห์ด้วยตัวเอง ตรวจสอบและสรุปได้ด้วยตัวเอง และหากต้องการให้นักเรียนจดจำความรู้ได้ดีควรจัดรูปแบบการสอนให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง ด้วยการสร้างสรรค์ชิ้นงานและเผยแพร่ความรู้และนวัตกรรมที่สู่สาธารณชน โดยอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการสอนและปฏิบัติกิจกรรม ในการเรียนในยุคสมัยใหม่ คือ ครูเป็นผู้เรียนรู้ไปด้วย และเรียนกับครูท่านอื่นๆเพื่อร่วมกันวางแผนการสอน พูดคุย ปรึกษาแลกเปลี่ยนความรู้กัน ทักษะที่จำเป็นสำหรับครูไทย แบ่งได้ 8 ประการ คือ1.content ครูต้องมีความรู้ในเรื่องที่สอนเนอย่างดี หากไม่รู้เนื้อหาก็ยากที่นักเรียนจะเข้าใจ 2.computer integration ครูต้องมีทักษะการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการจัดรูปแบบการสอน 3.Constructionist ครูต้องเข้าใจแนวคิดของนักเรียนที่สามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตัวเองโดยเชื่อมความรู้เดิมกับการลงมือทำ 4.connectivity ครูต้องสามารถเชื่อมโยงกิจกรรมให้เชื่อมโยงระหว่างผู้เรียนเข้าด้วยกัน




วันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2562


             🍩สรุป เรื่องเทคโนโลยีกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต 🍩                        

   ปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตของคนเราเป็นอย่างมากและมี การเผยแพร่ความรู้ทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วเราจึงจำเป็นต้องเรียนรู้เทคโนโลยีไปตลอดชีวิตเพื่อเตรียมรับมือกับการ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาการเรียนรู้แบบเดิมของครูคือใช้หนังสือหรือตำรา งานวิจัยในการหาข้อมูล ซึ่งอาจจะได้ข้อมูลที่จำกัดไม่เหมือนกับปัจจุบันที่สามารถหาข้อมูลได้อย่างหลากหลายและยังสะดวก รวดเร็วอีกด้วย หน่วยงานของรัฐเห็นความสำคัญในด้านนี้จึงจัดอบรมให้กับครูจนทำให้ครูไม่มีเวลาสอนเด็กและส่งผลกระทบต่อผลคะแนนO-Net แต่การจัดอบรมก็ไม่เป็นไปตามความเต็มใจของครู ดังนั้นการพัฒนาทักษะของครูจะช่วยให้ครูเข้าถึงแหล่งความรู้ได้ตามความต้อการของครูเองและยังสามารถเข้าใจวิธีการสอนนักเรียนมีเวลาในการจัดตารางสอนเพิ่มขึ้นส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาจึงให้ลดการอบรมเพื่อแก้ปัญหาในด้านนี้การเรียนรู้ตลอดชีวิตคือวิธีการค้นหาความรู้ด้วยตัวเองจากแหล่งข้อมูลต่างๆไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ในระบบ การเรียนรู้นอกระบบ อาจเรียนรู้ด้วยตนเอง หรือเรียนรู้กับผู้อื่น เพื่อให้เกิดทักษะ ความรู้ ประสบการณ์ การประกอบอาชีพและสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมอย่างกะทันหันได้ทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นปัจจัยสำคัญในยุคศตวรรษที่21มากเพราะมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วความรู้ที่เรามีอาจจะใช้ไม่ได้กับโลกอนาคตอาจจะมีอาชีพใหม่ๆเกิดขึ้นมากมายครูจึงต้องรู้ขอบข่ายให้ได้มากกว่าสังคมต้องหล่อหลอมมาจากสถาบันครูและส่งต่อมายังอาชีพครู

  ทักษะการเรียนรู้จึงจำเป็นที่ปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนเพื่อสร้างวัฒนธรรมใหม่ๆในการเรียนรู้ ประกอบด้วย4องค์ประกอบคือ  1)การที่ครูและผู้เรียนได้ร่วมกันกำหนดการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนความรู้กัน เพื่อทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการหาสาระความรู้ร่วมกัน   2)การพัฒนาครู ควรลดการจัดอบรมแล้วให้ครูได้ปฏิบัติจริงโดยมีผู้รู้คอยให้คำแนะนำและสอนเกี่ยวกับเทคโนโลยีต่างๆตลอดจนเข้าแหล่งเรียนรู้ใหม่ๆ3)การสร้างแรงบันดาลใจให้ครูได้มั่นใจในการใช้เทคโนโลยี ได้แสวงหาองค์ความรู้ใหม่ๆมีความสุขกับการหาคำตอบที่ถูกต้องและสนุกกับการหาข้อมูลทางสารสนเทศ4)สร้างชุมชนเครือข่ายกลุ่มเพื่อนที่มีความชอบคล้ายกันเพื่อที่จะได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นความรู้ทางเทคโนโลยีที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวันแหล่งทรัพยากรเพื่อการศึกษาออนไลน์มีมากมายคือแหล่งทรัพยากรการศึกษาแบบเปิดและสื่อสังคมออนไลน์ที่นำมาใช้เพื่อการศึกษาตลอดชีวิตมีเครื่องมือดังนี้1)แหล่งทรัพยากรการศึกษาแบบเปิดคือวัสดุดิจิทัลที่อิสระและเปิดเผยเพื่อนักศึกษาและผู้เรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อนำมาใช้เพื่อกาศึกษา2)สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตคือการสื่อสารที่ง่ายที่สุดการใช้สื่อของครูต้องตระหนักถึงความถูกต้องและเหมาะสมเห็นความสำคัญของการเรียนเพื่อการปรับพฤติกรรมในเข้ากับสังคมปัจจุบัน นอกจากนี้ครูควรเป็นผู้สร้างสื่อและแบ่งปันให้เด็กได้ศึกษาต่อตามความต้องการและตามวัตถุประสงค์ 

    การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตแบ่งได้ 2 ขั้นดังนี้ 1)การเรียนรู้ด้วยการนำตัวเอง คือการที่คิดริเริ่มด้วยตนเอง ไม่ได้รับการช่วยเหลือ การวิเคราะห์หรือกำหนดเป้าหมายแหล่งข้อมูลต่างๆด้วยตัวเอง คำถามสำคัญในการเรียนรู้คือ ครูต้องการเรียนรู้อะไร? ครูต้องการเรียนรู้อย่างไร?กระบวนการเรียนรู้ของครูเกิดจากแรงกดดันภายในนำมาสู่ประเด็นการเรียนรู้หรือกำหนดแหล่งข้อมูลว่ามาจากที่ใดบ้างโดยที่ครูจะต้องมีพื้นฐานในการใช้สารสนเทศเช่นคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือซึ่งการเข้าถึงข้อมูลต้องใช้ทักษะสารสนเทศในการหาข้อมูลการเลือกข้อมูล เปรียบเทียบข้อมูล ประเมินข้อมูล สังเคราะห์ขอมูลจนได้ข้อมูลที่ถูกต้องและมีความหมายเพื่อนำไปใช้ในการเรียนการสอ2)การใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล PLC เป็นรูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตของครู ซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบทีม ที่ต้องอาศัยความร่วมมือของคนในกลุ่ม PLCนี้จึงสำคัญสามารถนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการเรียน การเข้าถึงข้อมูลและการแบ่งปันข้อมูลได้ 

     การพัฒนาครูสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยเทคโนโลยี แบ่งได้2 ขั้นคือ1)การพัฒนาครูสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยเทคโนโลยีสำหรับครูรุ่นเก่าพัฒนาครูประจำการซึ่งเป็นครูที่อยู่มานานแล้วด้วยความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการศึกษาแต่ครูไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากจึงจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงตนเองของครูประจำการที่มีประสบการณ์ดังนี้ ลักษณะที่1เกิดการใฝ่รู้ตระหนักรู้ภายในตนเองของครูลักษณะที่2เกิดจากกระบวนการผลักดันการวางเงื่อนไขทางสังคมเปิดใจยอมรับและเรียนรู้2)การพัฒนาครูสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยเทคโนโลยีสำหรับครูรุ่นใหม่เป็นรุ่นที่มีความเข้าใจพร้อมในทัศนคติและการเรียนรู้ใหม่นำเสนอแนวทางการประยุกต์ได้อย่างสร้างสรรค์นำเสนอแนวทางเพื่อการแก้ไขปัญหาตามวัตถุประสงค์ของการเรียนผลการพัฒนาครูให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิตเมื่อครูสามารถหาความรู้ได้ด้วยตนเองแล้วผลที่ตามมาคือปรับเปลี่ยนกระบวนการทัศน์และวิธการสอนการส่งต่อทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้ผู้อื่น ดังที่อเมริกาได้กล่าวว่าผู้เรียนทุกคนจะต้องมีทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ประสบความสำเร็จในอาชีพการงานในอนาคต ดังนั้นจึงต้องพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตหรือพลเมืองในยุคศตวรรษที่21


วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2562

น.ส.นวรัตน์ ไพรสาลี ชิ้นงานชิ้นที่2

❤你好❤
 มิ้นไง จะใครล่ะ

👅😜😳😳😜👅

ในภาพอาจจะมี Nawarat Mint, กำลังยืน


  สวัสดีค่ะ ชื่อนางสาวนวรัตน์ ไพรสาลี  ชื่อเล่น มิ้น อายุ 19 ปี (แต่สมองเท่าเด็กประถมค่ะ)

จบมาจากโรงเรียนศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี เรียนอยู่คณะ ครุศาสตร์ สาขาภาษาจีน 
         
นิสัยส่วนตัวเป็นผู้หญิงห้าว กวนๆ จนคนอื่นคิดว่าเป็นทอมและเป็นคนอัธยาศัยดีเข้ากับคนอื่นได้ง่ายสามารถสนิทกับคนที่พึ่งคุยกันแค่วันเดียวได้(คุยเหมือนรู้จักกันมานาน)เป็นคนตลกค่ะชอบทำตัวติ๊งต๊องเพราะอยากทำให้คนรอบข้างมีเสียงหัวเราะ 

แต่ถ้าอยู่กับคนที่ไม่รู้จักหรือสนิทจะเป็นคน เงียบ นิ่งๆดูหยิ่งๆไปเลยค่ะ อาจจะเป็นเพราะหน้าดุ หน้าเหวี่ยงด้วยค่ะ 

ข้อเสียของตัวเองเป็นคนพูด ตรงๆ พูดแรง คิดยังไงก็พูดแบบนั้น จนบางครั้งไม่ได้คิดถึงความรู้สึกของอีกฝ่าย แล้วก็มาคิดได้ทีหลัง แล้วก็เป็นคนแข็งกระด้างพูดโผงผาง พูดไม่มีหางเสียง แต่จริงๆแล้วเป็นคนน่ารักมากๆเลยนะคะ นิสัยดีด้วยค่ะ

แรงบันดาลใจที่ทำให้มิ้นอยากเรียนครูจีน ตอนประถมอยากเป็นครูแต่ไม่รู้ว่าเป็นครูอะไร พอขึ้นมัธยมต้นก็ชอบวิชาคณิตศาสตร์ก็เลยคิดที่จะเป็นครูสอนเลข(เพราะชอบคิดในใจ เลยคิดนอกใจไม่เป็น ฮิ๊ววๆๆๆ)

แล้วมาเรียนสายศิลป์-คำนวณตอนขึ้นมัธยมปลาย ได้มีโอกาสเรียนภาษาจีนด้วยนิดหน่อย แต่พอได้เรียนภาษาจีน  มิ้นรู้สึกชอบ และมีความสุขที่ได้เรียน จนกระทั่งม.6 มิ้นได้รับทุนการศึกษา มีโอกาสไปศึกษาดูงานที่ประเทศจีนเป็นเวลา 30 วัน ซึ่งมิ้นไม่คิดเลยว่าชีวิตนี้จะได้ไปต่างประเทศ รู้สึกดีใจ และประทับใจมากๆที่ได้ไปแรกเปลี่ยนวัฒนธรรมจีน ได้เพื่อนเป็นคนจีน ได้เรียนรู้ภาษาจีน ได้เห็นธรรมชาติที่สวยงามของประเทศจีน ได้ประสบการณ์หลายๆอย่าง จนทำให้มิ้นเลือกที่จะมาเรียนในสาขาวิชานี้ และจะตั้งใจเรียนเป็นครูที่ดีและมีศักยภาพในอนาคต
   

ถึงมิ้นจะไม่สวยให้คุณเหลียว   แต่มิ้นก็มีมุกเสี่ยวให้คุณหลงรักนะ 

วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2562

นางสาวนวรัตน์ ไพรสาลี งานชิ้นที่1 รหัส61181300001

                               นางสาวนวรัตน์ ไพรสาลี รหัส61181300001 คณะครุศาสตร์ สาขาภาษาจีน  

เทคโนโลยี

ตวรรษที่21


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ gเทคโนโลยีสารสนเทศ



   การแสดงความคิดเห็น
    จากบทความเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสนับสนุนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงข้าพเจ้ามีความคิดเห็นว่าเทคโนโลยีในปัจจุบันเติบโตอย่างเห็นได้ชัดซึ่งแตกต่างจากสมัยก่อนเป็นอย่างมากในสมัยก่อนที่เทคโนโลยียังไม่ค่อยเจริญมากนักส่งผลเสียในหลายๆด้าน เช่น การทำงานติดต่อสื่อสารที่ล่าช้ามากต้องใช้เวลาในการส่งจดหมายหลายวันกว่าจะถึงมือผู้รับและดำเนินการต่างๆ  การเรียนไม่ค่อยพัฒนา สื่อการสอนไม่เพียงพอที่จะใช้ในการมอบความรู้แก่นักเรียน
ที่ได้แต่เขียนใส่กระดานดำให้นักเรียนอ่านตามซึ่งเกิดความน่าเบื่อในการเรียน ไม่สนใจการเรียน
จึงทำให้นักเรียนได้รับความรู้ไม่เต็มที่ หรือแม้แต่เรื่องกฎหมาย  คดีความที่ไม่มีหลักฐานเพื่อเอาผิดคนที่ทำผิดกฎหมาย ทำผิดกฎจราจร   แต่ในปัจจุบันที่เทคโนโลยีเจริญมากยิ่งทำให้ทุกๆอย่างสะดวกขึ้น ทั้งการขนส่ง การติดต่อสื่อสาร การศึกษา  กฎหมายบ้านเมือง การขนส่งก็เช่น  มีการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ที่ง่ายและสะดวกมีเยอะแยะมากมายและใช้ระยะเวลาในการส่งอย่างรวดเร็ว
การติดต่อสื่อสารก็ง่ายและสะดวกมากขึ้นเพราะมีแอปพลิเคชั่นมากมายไว้ติดต่อกันโดยที่ไม่ต้องส่งจดหมายอีกแล้ว เช่น แอปพลิเคชั่น facebook,Line,instagram  หลังจากมีแอปพลิเคชั่นเหล่านี้ขึ้นมาทำให้สะดวกต่อการส่งข้อมูลความรู้ให้แก่นักเรียน หรือสั่งงาน  การบ้านได้ง่ายขึ้น และยังมีสื่อการสอนที่ดีขึ้นเช่นจอโปรเจคเตอร์ ไมโครโฟน ลำโพง  ที่สะดวกทำให้เด็กสนใจการเรียน และอยากเรียนรู้เพิ่มมากยิ่งขึ้น ทำให้การเรียนไม่น่าเบื่อและครูก็สามารถหาความรู้มาเปิดให้นักเรียนได้ดูได้และได้ประหยัดค่าใช้จ่าย และทรัพยากรธรรมชาติ  หรือแม้แต่การทำแบบประเมินต่างๆก็สามารถทำในเว็บไซต์ได้ แล้วให้นักเรียนประเมินผ่านเว็บไซต์โดยที่ไม่ต้องปริ้นมาให้นักเรียน 

     เรื่องกฎหมายเช่นการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนปัจจุบันรถยนต์เกือบ 90% ต้องมีกล้องหน้ารถเพื่อใช้เก็บข้อมูลเวลาเกิดอุบัติเหตุต่างๆเพื่อใช้เป็นหลักฐานทางกฎหมายได้หรือมีGPSไว้บอกเส้นทางที่ต้องการเดินทางไปในที่ต่างๆได้เร็วและสะดวกมากยิ่งขึ้นและนอกจากเทคโนโลยีที่ส่งข้อดีแล้ว ก็มีข้อเสียด้วยเช่นกัน คือ อาจจะมีมิจฉาชีพที่ใช้เทคโนโลยีในการทำทุจริต เช่น ปลอมข้อมูลของบุคคลอื่นแล้วนำไปหลอกเอาเงิน ขอรับบริจาคเงินผู้ที่มีจิตศรัทธาให้ผู้คนเหล่านั้นโอนเงินให้หรือหลอกว่าจะพาไปทำงานต่างประเทศแล้วหลอกผู้เสียหายโอนเงินมาให้แล้วก็หนีไป  การนัดเจอผ่านสื่อโซเชียลแล้วหลอกไปข่มขืน หรือขโมยทรัพย์สินได้และการใช้สื่อโซเชียลมากจนเกินไปของเด็กไทยในสมัยนี้ส่งผลให้เกิดการคบหากันได้ง่ายขึ้นของกลุ่มวัยรุ่นแล้วก็พลาดไปมีเพศสัมพันธุ์จนทำให้ตั้งท้องก่อนวัยอันควร ทำให้ต้องออกจากการเรียนและทำให้เกิดปัญหาอื่นๆตามมา ทั้งนี้ข้าพเจ้าคิดว่าต้องใช้สื่อโซเชียลให้เป็นใช้ให้ถูกทาง และใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ปัจจุบันการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญต่อเด็กไทย โดยมีครูเป็นผู้ให้ความรู้ และเป็นผู้ให้คำแนะนำแก่นักเรียน นักศึกษา 

     การเรียนการสอนในปัจจุบันไม่จำเป็นต้องยึดหลักการในหนังสือมาสอนเพียงอย่างเดียว ครูสามารถหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตหาความรู้จากที่อื่นมาสอนนักเรียนได้หรือไม่ครูก็ให้นักเรียนไปสืบค้นข้อมูลที่นอกเหนือจากในหนังสือ หัดให้นักเรียนได้ศึกษาด้วยตนเองให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นต่างๆ ให้นักเรียนได้นำเสนอในสิ่งที่เขาต้องการโดยอยู่ภายใต้การดูและและให้คำแนะนำของครูว่ามันถูกต้องหรือไม่ เพราะถ้าครูไปบังคับเด็กเด็กจะยิ่งไม่ชอบและจะไม่สนใจที่อยากจะเรียน เพราะถ้านักเรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตัวเองได้ และมีประสบการณ์ในการทำงานหรือกิจกรรมต่างๆ ในอนาคตข้างหน้าถ้าเขาได้ไปทำงานในบริษัทหรือหน่วยงานต่างๆเขาก็จะสามารถแก้ปัญหาและผ่านมันไปได้
   
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

   ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าสังคมในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นสังคมที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างมากทั้งผู้สอนและผู้เรียนก็ต้องปรับตัวไปตามกับสังคมนั้นๆ ผู้สอนก็มีวิธีการสอนที่แปลกใหม่ น่าสนใจมากยิ่งขึ้นและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็น ลงมือปฏิบัติ ให้ผู้เรียนได้หาประสบการณ์ใหม่ๆโดยมีผู้สอนคอยให้คำแนะนำให้คำปรึกษา คอยอยู่เบื้องหลังความสำเร็จให้ผู้เรียนได้มีการพัฒนาศักยภาพของตนเองมากยิ่งขึ้นผู้สอนต้องปรับเปลี่ยนบทบาทของตนเองให้เข้ากับสังคมในศตวรรษที่ 21 เพื่อที่จะได้รู้ความต้องการของผู้เรียนและปรับวิธีการสอนให้เข้ากับผู้เรียนให้ดียิ่งขึ้น

เทคโนโลยีการศึกษากับครูไทยในศตวรรษที่21

🍄เทคโนโลยีการศึกษากับครูไทยในศตวรรษที่21🍄     โ ลกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา สังคมโลกกลายเป็นสังคมการเรียนรู้ อ...